Casino Royale กับยาพิษใน Dry Martini

เนื่องจากผู้เขียนเป็นคนชอบดูหนัง หลายๆครั้งก็จะกดดู movie clip เป็นฉากๆ จาก YouTube

มหากาพย์ 007 มีทั้งหมด 26 ภาค (รวมไปถึง No Time To Die ที่ plan จะออกในปีนี้ 2021)

เริ่มจากงานเขียนของ Ian Fleming, สั้นๆเลยคือเกี่ยวกับ สายลับอังกฤษ นามว่า James Bond ผู้มีรหัสคือ 007 ในกลุ่มของ " double 'O' agent" และมี "ใบอนุญาตฆ่า (License to kill)" สายลับ MI6 ผู้ทำภารกิจทั่วโลก
(แต่ไม่มีใบอนุญาตทำผิดกฏจราจร)

แล้วมันเกี่ยวยังไงกับ ER ?? 

เข้าเรื่องเลย ในหนังเรื่อง Casino Royale (2006) 










มีอยู่ฉากหนึ่งในเรื่องหนัง ในขณะที่ James Bond (Daniel Craig) ขณะที่เล่น Poker เพื่อเอาชนะ Le Chiffre (Mads Mikkelsen) วายร้าย ที่ต้องการนำเงินไปเพื่อต่อชีวิตตัวเอง เนื่องจากเอาเงินเค้ามาลงทุนแล้วเละเทะ


ในขณะที่ Bond กำลังมือขึ้น เล่น Poker เริ่มเอาชนะได้บ่อยครั้ง Le Chiffre ได้วางแผนวางยา 007 , Bond ได้ดื่มเครื่องดื่ม Dry Martini ที่ถูกใส่ของเหลวบางอย่างเข้าไป

มารู้จักกับตัวยานั้นคร่าวๆก่อน นั่นคือ Digoxin หรือ Digitalis
- อธิบายสั้นๆ
---> Digoxin เป็นยาสำหรับโรคหัวใจชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผู้ที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย มีทั้งรูปกินและฉีด , และยังพบในธรรมชาติด้วย เช่น ถุงมือจิ้งจอก(Foxglove) ยี่โถ, ยาถูกขับออกทางไต หากกินเกินขนาด อาการที่พบมีได้ตั้งแต่เห็นสีผิดปกติ คลื่นไส้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้



เราจะมาวิเคราะห์อย่างจริงจังโดยแบ่งฉากเป็นทั้งหมด 4 ฉาก

1. ฉากเริ่มดื่มเครื่องดื่มและเริ่มมีอาการ (onset)
2. อาการที่เกิดขึ้น (symptoms)
3. การรักษาเบื้องต้น (treatment , detoxication)
4. การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การให้ยา และการช็อตไฟฟ้าหัวใจ (treatment, antidote, defibrillation)

ฉากที่1 เริ่มดื่มเครื่องดื่มและเริ่มมีอาการ (onset)


เนื้อหาของภาพยนต์
- Bond เริ่มดื่มตอน 1.09 --> มีอาการตอน 1.26 ใช้เวลาประมาณ 17 วินาที ในการออกฤทธิ์ (onset)
Fact  (ในตอนหลังจะกล่าวถึงว่า สารที่ใส่เข้าไปนั้นคือ Digoxin, digitalis และอาจจะมีอย่างอื่นๆ)
- ถ้าหากสารนั้นเป็น Digitalis ตามเรื่อง 
    💀 GI absorption (การดูดซึมทางทางเดินอาหาร) จะเกิดขึ้นอย่างเร็วสุดคือ 1 ชั่วโมงหลังจากกินไป และถ้ากินตอนท้องไม่ว่าง ex. เพิ่งกินอาหารไป การดูดซึมจะช้าลง (ใช้เวลาออกฤทธิ์นานขึ้น)

ฉากที่1 อาการที่เกิดขึ้น (symptoms)



- ฉากในหนังได้ใช้ tone เป็นสีเหลือง และมีการกระเจิงของแสงมากขึ้น เพื่อให้คนดูที่รู้สึกได้ว่า Bond นั้นเริ่มมีปัญหาทางร่างกายจริงๆ
💀 พอมานั่งๆคิดหรือคนทำหนังเค้ารู้ว่า Digitalis effect อย่างหนึ่ง คือ Yellow, green blurred vision
💀 ดูจากหน้าตาของ Bond มีลักษณะ เหงื่อแตก (Diaphoresis) อยู่ไม่นิ่ง (Agitation)
--> ในทางการแพทย์ถ้าเป็นทันทีต้องสงสัยว่าผู้ป่วยได้รับสารบางอย่าง (Toxicology) ถ้าดูคร่าวๆ อาจเป็นกลุ่ม Sympathomimetic drug (ยากระตุ้นระบบประสาท ในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันคือยาบ้า แอมเฟตามีน amphetamine)

ฉากที่3 การรักษาเบื้องต้น (treatment , detoxication)

- Bond ได้หยิบเกลือและแก้วน้ำ เข้าไปในห้องน้ำ เอาเกลือทั้งกระปุกผสมในน้ำและดื่ม เพื่อให้อาเจียนออกมา
💀 ในความเป็นจริงถ้าไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์หรือมีความรู้ทางพิษวิทยา 
ไม่แนะนำให้ทำ decontamination ด้วยตัวเองเพราะ ถ้ายังไม่รู้สารพิษ หรือสารบางอย่าง หากทำให้อาเจียน อาจจะแย่ลงได้ ให้มาพบแพทย์แล้วทางแพทย์จะพิจารณา dose, risk of aspiration และให้การรักษาต่อไป 

 
ฉากที่4 การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การให้ยา และการช็อตไฟฟ้าหัวใจ (treatment, antidote, defibrillation)



-Bond ได้ใช้เข็มแทงเข้าไปที่เส้นเลือดของข้อมือ และทาง MI6 ของ London ได้รับข้อมูลและแปลผลเลือด
💀ตำแหน่ง Bond แทงนั้นเรียกว่า Radial artery ในความเป็นจริงคือแทงยากโคตรๆ
💀 เท่าที่ทราบ ยังไม่มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่เล็กขนาดนี้และวิเคราะห์ผลเลือดได้ ที่เคยพอได้ยินคือของ Theranos ซึ่ง.. กลายเป็นเรื่องหลอกลวงไปแล้ว






- Bond ได้ติด Defibrillator pad เพื่อดูการเต้นจังหวะของหัวใจตนเอง
💀 Bond ติดผิดตำแหน่ง ของจริงสามารถติดได้ 2 แบบ ดังรูปถัดมา โดยส่วนมากจะติดแบบที่1 ,แบบ2ใช้บางครั้ง เช่นในผู้ป่วยที่ใส่ AICD




- ในตัว monitor นั้นแสดงให้เห็นดังภาพ ซึ่งถ้าติด defibrillator pad ถูกตำแหน่งนั้น จะสามารถ อ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตามหนังได้
- ตัวยา Digoxin สามาถทำให้เกิดอาการแบบนี้ได้
💀 คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ Ventricular Tachycardia ที่ทำให้แย่นั้น มักมีอัตราการเต้นมากกว่า 150 ครั้งต่อนาที (ในหนัง 136)

- หมอทาง MI6 ได้แจ้งว่า Bond ควรให้ยา antidote เพื่อ counteract Digitalis โดยใช้ยาที่อยู่ในกระเป๋าด้านหน้ารถ และจิ้มไปที่คอ
💀ยาแก้พิษของ Digitalis มีจริง ชื่อคือ DigiFab แต่ยานี้เป็นยากำพร้า หายากมาก มีแค่บางที่
💀 การให้ยาโดยจิ้มไปที่เส้นเลือดที่คอ โอกาสแทบเป็น0 ที่ด้านข้างของคอมีเส้นเลือดหลักๆ2เส้น คือ Jugular Vein, และ Carotid artery ซึ่ง 2 เส้นนี่อยู่ใกล้กันมาก โอกาสพลาดสูงมาก


ประมาณนี้นะ ใครอ่านแล้วมีความคิดเห็นอย่างไร commentได้
จริงๆมีตอนที่ cardiac arrest อีก เดี๋ยวจะยาวไป


Comments

Popular posts from this blog

จะทำอย่างไรเมื่อเราอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์ยิงปืน 101 Part 1

จะทำอย่างไรเมื่อเราอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์ยิงปืน 101 Part 2