จะทำอย่างไรเมื่อเราอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์ยิงปืน 101 Part 1



บทความนี้จะกล่าวถึง
Part1: Active shooter: How to respond? - หากมีการยิงกันเกิดขึ้น เราควรทำอย่างไร
Part2: Stop the bleed - เราให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากการถูกยิงเบื้องต้นได้อย่างไร  (บทความถัดไป)

https://eramess.blogspot.com/2020/01/101-part-2.html



วันที่ 9 มกราคม 2563 นั้น ได้เกิดเหตุสลด มีคนร้ายบุกชิงทองที่ห้างสรรพสินค้าดัง จ.ลพบุรี ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 3 ราย ซึ่งเป็นการกระทำที่อุกอาจและโหดเหี้ยมมาก

ในประเทศไทยที่ผ่านมา ยังไม่มีเหตุการณ์กราดยิงสังหารหมู่
ถึงแม้ว่ามันเป็นโศกนาฏกรรมอันโหดร้ายแต่ผมก็มองว่าเราอาจจะเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้ได้

จากเหตุการณ์ปล้นทองทำให้เกิดคำถามขึ้นถึงความปลอดภัยของเรา ประชาชนชาวไทยว่า ถ้าหากเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นเกิดขึ้นและเราอยู่ในที่เกิดเหตุ ควรทำอย่างไรดี?

ลองไปดูในประเทศสหรัฐอเมริกา มีเหตุการณ์กราดยิงปืนในที่สาธารณะหลายครั้ง จะบอกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการกราดยิงก็ไม่เชิง เนื่องจากเรื่องของกฏหมายการถือครองอาวุธ เราควรจะเรียนรู้จากคนอื่น ไม่รอจนกว่าจะเกิดเหตุกับตัวเราเอง

\

แผนที่แสดงเหตุการณ์การกราดยิงในที่สาธารณะของอเมริกา

ทำให้กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) ของทางสหรัฐอเมริกา ได้มีการออกนโยบาย เรื่องของ Active Shooter : How to respond? และ campaign ที่ชื่อว่า "Stop the bleed"

วันนี้เราจะมาเรียนรู้ How to respond กัน


Concept -- Run, Hide, Fight 


Active Shooter: How to respond?
Active shooter (ต่อจากนี้ขอเรียกว่ามือปืน) มือปืนมักมีพฤติกรรมอย่างไร?
  • เหตุการณ์มักเกิดในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และมือปืนลงมืออย่างรวดเร็ว
  • สถานการณ์มักกินเวลา 10-15 นาที (จากสถิติในสหรัฐอเมริกา) ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะถึงที่เกิดเหตุ ทำให้แต่ละคนต้องเตรียมรับมือกับเหตุการณ์แบบนี้

ในขณะที่เกิดเหตุ
  • สังเกตสภาพแวดล้อมรอบตัว และอันตรายที่อาจะเกิดขึ้นได้
  • มองหาทางออกที่ใกล้เคียงที่สุด 2 ทางออก
  • ถ้าคุณอยู่ในออฟฟิศ ให้อยู่ที่เดิมและล็อคประตู
  • ถ้าคุณอยู่ในทางเดิน ให้เข้าห้องและล็อคประตู
  • ในกรณีสุดท้าย, บุกเข้าหามือปืน ในกรณีมือปืนอยู่ใกล้และเราหลบหลีกไม่ได้ โอกาสการรอดของเราจะสูงขึ้นถ้าเราพยายามบุกประชิดตัวมือปืน
ในขณะที่มือปืนอยู่บริเวณใกล้เคียง -- จำไว้ว่าชีวิตเราสำคัญที่สุด และลูกค้ามีแนวโน้มจะทำตามพนักงาน/ผู้จัดการ ในเวลาเกิดเหตุยิงปืน ถ้าเราเป็นผู้นำ/หัวหน้าในสถานการณ์นั้นเราควรตัดสินใจให้ชัดเจน
  • วิ่ง - ถ้ามีทางหนีออก ให้วิ่ง, ไม่ต้องสนคนอื่นว่าจะตามเราไปหรือไม่, ทิ้งข้าวของไว้, พยายามแสดง/ชูมือในที่คนอื่นสามารถมองเห็นได้ชัด (ว่าไม่มีอาวุธ), อย่าเพิ่งเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ


  • ซ่อน 

    • ถ้าไม่มีทางออก ให้ซ่อนในที่มือปืนไม่น่าจะหาเราเจอ, ไม่ซ่อนในที่ที่เราไม่สามารถขยับตัวหรือติดขัดไม่สามารถขยับตัวเองได้
    • ป้องกันไม่ให้มือปืนเข้ามาที่ซ่อนเราโดยการล็อคประตู, เอาเฟอร์นิเจอร์มาขวางไว้
    • ถ้ามือปืนอยู่ใกล้ ให้ล็อคประตู, ปิดเสียงโทรศัพท์/เสียงใดๆ , ไม่ส่งเสียงใดๆ
    • ถ้าหากไม่สามารถหนีหรือซ่อนได้ --> ตั้งสติ, โทร 911 (191) เพื่อให้ตำรวจทราบตำแหน่งที่เกิดเหตุ, ถ้าไม่สามารถพูดคุยได้ ให้โทรเปิดสายทิ้งไว้ เพื่อให้ตำรวจได้ยิน

  • สู้
    • ในกรณีไม่มีทางเลือกและชีวิตอยู่ในอันตราย พยายามบุกเพื่อลดอาวุธมือปืน
      • ขว้างปาสิ่งของ และหยิบสิ่งรอบตัวมาเป็นอาวุธ
      • ตะโกน
      • บุกแบบโหดที่สุดเท่าที่จะทำได้
เมื่อเจ้าหน้าที่/ตำรวจมาถึง
  • วางสิ่งของที่อยู่ในมือ/ ยกมือสองข้างและกางนิ้วออก/ ยกมือให้เห็นตลอดเวลา
  • หลีกเลี่ยงการขยับตัวอย่างรวดเร็ว หรือเข้าหาเจ้าหน้าที่
  • หลีกเลี่ยงการชี้/ตะโกน
  • ให้เดินไปทางออกที่เจ้าหน้าที่เข้ามา, อย่าหยุดเจ้าหน้าที่เพื่อถามทางออก
ข้อมูลที่ควรบอกเจ้าหน้าที่ หรือ 191
  • สถานที่เกิดเหตุ, จำนวนมือปืน, ลักษณะของมือปืน, อาวุธ, จำนวนผู้บาดเจ็บ







****ถ้าใครขี้เกียจอ่าน ดู video จาก youtube โลด





ในส่วนของ Stop the bleed รอดู part2 นะครับ



References

Comments

Popular posts from this blog

จะทำอย่างไรเมื่อเราอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์ยิงปืน 101 Part 2

Casino Royale กับยาพิษใน Dry Martini